วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Fashion คืออะไร?

แฟชั่นในความเข้าใจของปุ๊ในเรื่องของแฟชั่นนั้น เข้าใจว่าแฟชั่นคลอบคลุมทั้งเรื่องของการ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ เครื่องสำอางค์ ทรงผม ซึ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นแฟชั่นที่สังคมสร้างขึ้นมา ส่วนในทางวิชาการนั้นก็มีความจำกัดความของมันอยู่

ภาษาอังกฤษมีอยู่ 3 คำที่คนในวงการแฟชั่น ทั้ง Designer, ผู้ประกอบการ และร้านค้า ต่างเข้าใจตรงกัน คือ

1. Clothing คือการใส่เสื้อผ้า
2. Stylist คือสไตล์ Stylist Clothing คือการใส่เสื้อผ้าอย่างมีสไตล์ หรือ Fashionable Clothing
3. Fashion

ถามว่าเราใส่เสื้อผ้าทำไม? เพื่อปกปิดร่างกาย กันร้อนกันหนาว เสริมบุคลิกให้ดูดี หรือเพื่อความปลอดภัย Designer ควรต้องรู้ก่อนว่า คนใส่เสื้อผ้าเพราะอะไร? หรือควรคิดเล่นๆ ว่าถ้ามนุษย์ไม่ใส่เสื้อผ้าแล้วจะเป็นอย่างไร? สำหรับเหตุผลของการใส่เสื้อผ้า ไม่ใช่แค่เพียงปกปิดร่างกาย เราเลือกเสื้อผ้าใส่เพื่อบ่งบอกถึงอะไร? แล้ว Designer ควร Design ให้ถูก 3 ช่องทางที่ว่าข้างต้นนี้เป็นอย่างน้อย
แน่นอนว่ากลุ่มเสื้อผ้าทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ได้ยืนอยู่หรือเป็นตัวของมันเองอย่างแยกขาดจากกลุ่มอื่น แต่มันมีความสัมพันธ์กันทั้งเนื้อหาและการจัดการ ในเบื้องต้น มักจะคิดว่าเมื่อจะเป็น Designer ต้องมีบริษัท ต้องมี Studio ของตัวเอง นั่นเป็น Vision ที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตเสื้อผ้าแบบทำงานไปวันๆ ข้อสรุปเบื้องต้นก็คือ เสื้อผ้ามีความหลากหลาย ไม่ใช่หลากหลายในเชิงวัสดุหรือสไตล์ แต่มีความหมายของกลุ่มเสื้อผ้าที่หลากหลาย รวมถึงคนใส่ที่มีความสนใจในการเลือกที่หลากหลาย สอดคล้องกับบริบทของชีวิต
มันไม่ใช่ง่ายๆ ในการที่จะได้ Trend ขึ้นมา การที่จะผลิต Trend ก็ดี, การที่จะผลิต Style อะไรสักอย่างหนึ่งก็ดี, ต้องคิดจากพื้นฐานของความหลากหลายแล้ววางตำแหน่ง(Positioning) ให้ถูก
เสื้อผ้า คือ สื่อที่แสดงความหมาย
เสื้อผ้า คือสื่อที่ส่ง Message ไปสู่คนรอบข้าง เราไม่ได้พูดถึงเสื้อผ้าที่แขวนอยู่ในตู้ เพราะว่ามันบอกอะไรไม่ได้มากนัก อาจจะบอกได้ถึงสีสัน, การตัดเย็บ, สไตล์ของเสื้อผ้าว่ามันอยู่ใน Trend ไหน, แต่เราจะดูว่า เมื่อเสื้อผ้าถูกใส่โดยใครแล้ว นั่นถึงจะเข้าใจว่าเสื้อผ้านั้นมีความหมายอย่างไร อย่างครบถ้วน

เสื้อผ้าเพื่อการต่อต้าน / ประท้วง มีอีกหลายกรณี ที่การใส่เสื้อผ้าถูกใช้ในฐานะพื้นที่ของการต่อรองทางสังคม ในมิติแบบยื่นหมูยื่นแมว คุณไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง รูปแบบใดก็แล้วแต่ คุณไม่เห็นด้วยกับสิ่งอะไรรอบตัวก็แล้วแต่ เราสร้างการประท้วงผ่านการใส่เสื้อผ้า และผ่านกิจกรรมที่ดูเหมือนธรรมดาๆ ในรูปแบบอื่นๆ และในการต่อรองผ่านกิจกรรมสามัญเหล่านี้ ซ่อนลึกลงไปในระดับการผลิตเชิงสัญลักษณ์ ตรงที่คุณไม่เห็นด้วย แต่คุณไม่ประท้วงตรงๆ

บรรดาพวกเด็กแนวทั้งหลาย มีหลายแนวเหลือเกิน การแต่งตัวของกลุ่มแนวเหล่านั้น ถือว่าเป็นการต่อรองต่อรสนิยมของสังคมมาตรฐานได้ไหม? การต่อรองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมี Pattern ของความเชื่อ ของคุณค่าสังคมชุดหนึ่ง ที่พยายามจะทำให้ทุกคนปฏิบัติตาม Pattern นั้นๆ (Dominant Culture - วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลครอบงำ) เมื่อมีกลุ่มคนที่ใช้ Brand Name, กลุ่มคนที่มีทุน, มีอำนาจทางเศรษฐกิจ, ระดับการศึกษา, ทุนทางวัฒนธรรม และมีรสนิยม ที่(อ้างว่า)สูงกว่า ประกอบกับสื่อรอบๆ ตัวที่พยายามจะตอกย้ำ มาตรฐานการใช้ชีวิตแบบนั้นๆ ผ่านละครทีวีก็ดี, การโฆษณาหรือสื่ออื่นๆ ก็ดี การวิจารณ์ต่อรสนิยมแบบสูงๆ เหล่านั้น ผ่านเสื้อผ้าหรือการเลือกสไตล์ของเสื้อผ้าแบบแนวๆ หรือแหวกแนว จะก่อตัวขึ้น

จะมีคนกลุ่มแนวต่างๆ ที่รู้สึกว่า แล้วทำไมต้องเอาอย่างการใช้ของและมีชีวิตแบบนั้นด้วย ทำไมต้องมีแบบแผน (Pattern)แบบเดียว จากนั้นก็พยายามจะดีไซน์รูปทรง หรือรูปแบบการใช้ชีวิตอีกแบบอื่น ที่เป็นแนวต่างๆ ขึ้นมา กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ยอมที่จะอยู่ภายใต้โครงสร้างของการควบคุมตามแบบแผนของการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ หรือแบบที่ถูกยอมรับผ่านภาพของวัฒนธรรมที่อ้างว่าตัวเองเหนือกว่า

ฉะนั้นการแต่งตัวของเด็กแนวต่างๆ จึงมีระหัสของความต้องการในการผลิต และส่งสารในเชิงวิพากษ์สังคม เขาอยากมีชีวิตของเขา นี่คือการต่อรอง

ยังมีการต่อรองที่มองเห็นได้ยากแต่มีปฏิบัติการ และกิจกรรมที่มีพลังเชิงวิพากย์อีกมากมาย ที่กำลังทำงานอย่างแข็งขันใน Segment ของตัวเอง อย่างเช่นวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนมัธยมจะเห็นได้ชัด ขอให้ได้ซอยผม ขอให้ได้ย้อมซักนิด, ขอ Tattoo สักหน่อย, ในที่ที่เขาไม่สามารถแสดงตัวตนได้ เขาก็จะซ่อนไว้ แต่เมื่อไรก็ตามที่เขาเข้าไปอยู่ในที่ของเขา ในกลุ่มคน ในกลุ่มเพื่อนที่ Share ความรู้สึก หรือ Share คุณค่าเดียวกัน เขาก็จะสามารถแสดงออกอย่างเต็มที่

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วทำไมต้องหลบๆ ซ่อนๆ มีที่ไหนบ้างที่เป็นสาธารณะให้คนเหล่านี้ได้ทำอะไรที่ไม่ต้องหลบซ่อน หรือในที่สาธารณะคนเหล่านี้ไม่มีชีวิตอยู่จริง สาธารณะของใคร? ผ่านการดูดซับเข้าระบบทุนกระแสหลัก การต่อรองหลายรูปแบบที่เคยอยู่ในวงแคบๆ จะถูกยอมรับกว้างขวางขึ้นได้ในเวลาต่อมา

เด็กแนวแบบแท้ๆ จะถูกเปลี่ยนเป็นแนวที่ถูกยอมรับและเป็นแนวที่เอามาค้ากำไรได้ ขณะที่เจ้าของแนวเดิมๆเหล่านั้น ถูกกันออกไปและไม่มีส่วนในการแบ่งคุณค่า(รายได้) ผ่านกระบวนการผลิตซ้ำในระบบทุน ซึ่งมีกลไก ที่ Advance และซับซ้อนขึ้น

กลุ่มแนวต่างๆในปัจจุบันจึงมีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ เหตุเพราะเมื่อแนวแท้ๆ ซึ่งเคยมีชีวิตของเจ้าของแนวฝังตัวอยู่ด้วย ถูกปลิดวิญญาณออก เหลือแต่ Form ด้วยกลไกการรีด การเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสินค้า และการแปลงทรัพย์และศิลป์ ให้เป็นทุน (ของใครหรือ?) สไตล์ในแนวต่างๆ ถูกลดทอนลงเหลือแค่ "ความนิยมชั่ววูบ" กลไกทุนที่ Advance นี้ ยอมให้สังคมผลิตสไตล์ในแนวต่างๆ มีทางเลือกของการบริโภคแนวต่างๆ มากขึ้น ในขณะที่ "การบริโภค"ด้วยตัวของมันเอง คือความจำเป็นอย่างไม่มีทางเลือก

การต่อรองจะเกิดขึ้นเมื่อมี Pattern หรือแบบแผนอะไรบางอย่างที่พยายามจะอ้างความเป็นมาตรฐานของการใช้ชีวิต มนุษย์จะไม่อยู่ในโลกแบบเชื่องๆ เขาจะแปลความหมายโลกที่เป็นอยู่ แล้วทำความเข้าใจมัน ถ้าเชื่อดังนี้แล้ว เราจะไม่สร้างสังคมของการบริโภค

แฟชั่นกลายเป็นเรื่องของการ “ขายภาพลักษณ์” “บุคลิก”
อย่างที่ผู้สวมใส่อยากจะเป็น เกิดบุคลิกซ้ำ ๆ ขึ้นเต็มไปหมด
ความฟุ่มเฟือย เริ่มขึ้นตามราคาที่สูงขึ้นของแฟชั่น เพราะระบบ
ของแฟชั่นเปลี่ยนไป ทั้งด้วย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รูปแบบการผลิตที่เปลี่ยนไป
รวมทั้งการเดินแฟชั่นโชว์ ซึ่งเป็นการโฆษราประชาสัมพันธ์ที่แสดงออกความเป็น แฟชั่น ได้มากที่สุด แต่เบื้องหลัง Catwalk เต็มไปด้วยการเมืองของผลประโยชน์ ไม่ใช่
แค่การต่อรองของ Organization หรือองต์กรการจัดการของผู้จัดการแฟชั่นโชว์เท่านั้น แต่กว่า
จะได้ Set แฟชั่นมาเดินบน Catwalk ต้องต่อรองแล้วต่อรองอีก กับหลายๆฝ่าย. แฟชั่นบางชุด
ใช้เวลา 5 ปี จนบางครั้งมันล้าสมัยไปแล้วยังไม่ได้เดินบทเวทีเลย มัวแต่เจรจาเกี่ยวกับ Concept
หรือแนวความคิดกันอยู่ รวมไปถึงใครได้ ใครเสีย ใครจะซื้อ ใครจะตัดชิ้นเค้กตรงไหนหลังจาก
แฟชั่นลงจาก Catwalk สังคมจะเอาแฟชั่น ชุดนั้นไปประยุกต์ใช้อย่างไร มันเป็นการต่อรองของ
นักออกแบบในเชิงสัญลักษณ์ Concept และการจัดการ

ปัญหาของแฟชั่นคือ ก่อให้เกิดการแยกกลุ่ม การแบ่งแยก ชนชั้นทางสังคม
เพราะแฟชั่นมีรูปลักษณะในการตัดสินอยู่ 2 แบบ คือ
1. ลักษณะแบบ ราชการ ที่เชื่อว่า
ชนชั้นทางสังคมนั้นมีรูปทรงเป็น พิระมิด แบ่งเป็นระดับคือ
- Hi-Class
- Upper-Class
- Middle-Class
- Low-Class
และผู้ที่อยู่ยอดสุดของพิระมิดเป็นผู้กำหนด เทรนด์ TREND ของแฟชั่น
รูปแบบการใช้ชีวิต ของชนชั้นที่ต่ำชั้นลงมา แล้วชนชั้นถัดลงมา ก็นำมาใช้
2. ลักษณะแบบ ประยุกต์
คือคนที่อยู่ยอดสุดของ ระบบชนชั้นแบบพิระมิด เป็นผู้กำหนด เทรนด์ ของแฟชั่น
รูปแบบการใช้ชีวิต แล้วชนชั้นถัดลงมา ก็ Copy ลอกเลียนแบบมาใช้
แต่ เกิดมีการหมั่นไส้ ชนชั้นที่สูงกว่าตามมา จากการ copy ก็เริ่มสร้างรูปลักษณ์ความเป็นตัวเอง
ขึ้น คือการสร้างอัตลักษณ์ใหม่จากการลอกเลียนแบบ
ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะคล้อยตามวิธีปฏิบัติแบบกำหนดชนชั้น ถึงแม้รูปแบบที่ 2 จะมีการคิดต่างแต่ก็ยังคงเกิดระบบชนชั้นขึ้นอยู่ดี ไม่มีการพยายามทำลายระบบนี้ลง เพียงแค่เป็นการแสดงทัศนคติ
การกำหนดทิศทางแฟชั่น คือ การกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในทุก ๆ แขนง

ยกตัวอย่างทัศนคติแฟชั่น ของวิเวียน เวสต์วูดที่เค้ามีความแปลกแยกออกไป

เคยเห็นเสื้อยืดที่มีธงยูเนี่ยนแจ็ก ((ธงสหราชอาณาจักร)) เต็มอกเสื้อมั้ย?
หรือกางเกงยีนส์ที่มีธงยูเนี่ยนแจ็กอยู่ที่กระเป๋าหลัง?
กางเกงหนังรัดติ้ว แต่นุ่มนวลและมันวับ
รองเท้าบูทสูงถึงเข่าล่ะ?
เธอเป็นดีไซเนอร์ชาวอังกฤษในแนวพังค์ร็อก และนิวเวฟ ผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นระดับโลก นับตั้งแต่ยุค 70 ในช่วงของยุค
"พังค์" ยุคแรก วิเวียนแสดงออกถึงการต่อต้านสังคมระบบชนชั้นผู้ดี ผ่านงานดีไซน์ในหลากวิธี เช่น วัสดุนอกกรอบทั้งกระดูกไก่ ยางรถยนต์ หมุด โซ่ ภาพจากนิตยสารเก่า ฯลฯ ถูกนำมาสร้างเป็นเสื้อยืดดิบๆ ในสังเวียนแฟชั่นยุคแรกคือ วิเวียนไม่ได้ขายแค่เสื้อผ้าสไตล์พังก์ร็อก แต่สิ่งที่เธอพยายามเสนอขายแก่สังคมคือ ทัศนคติ (attitude) ที่ว่า "กล้าที่จะยืนนอกกรอบ แล้วบอกว่านี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ"
วิเวียนยังใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพศอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ลายหน้าอกผู้หญิงและรูปคาวบอยเปลือยบนเสื้อยืด หรือกระดุมรูปศิวลึงค์ รวมทั้งการเฉือนเสื้อผ้าให้ขาดวิ่นเห็นเนื้อหนังบริเวณหน้าอก และการนำชุดชั้นในมาใส่ด้านนอก ฯลฯ "งานของฉันคือการประจันหน้ากับสถาบันทางสังคม พยายามค้นหาว่าอิสรภาพของฉันเองอยู่ที่ไหน และทำอย่างไรเพื่อให้ได้มันมา" วิเวียนใช้เสื้อยืดลามกเป็นสื่อ เพื่อค้นหาจุดยืนและอิสรภาพที่คนชนชั้นกรรมาชีพเช่นเธอโหยหา

เสื้อผ้าของวิเวียนหลายชิ้นมักถูกวิจารณ์ว่า "ใส่จริงไม่ได้" ทั้งความแปลกของวัสดุ ลวดลาย สัดส่วนโครงสร้าง และแพตเทิร์นการตัดเย็บ แต่เธอมีมุมมองว่า "เสื้อผ้าของฉันอาจดูนอกลู่นอกทาง เพียงเพราะผู้คนไม่ได้คาดคิด แต่สิ่งที่ฉันทำก็เพื่อประณามความจืดชืดและความน่าเบื่อของแฟชั่นธรรมดาเหล่านั้น"

ยุค 1980 เป็นช่วงที่วิเวียนได้แหกกฎการตัดเย็บชั้นสูงแบบอังกฤษ ขณะที่การตัดเย็บสไตล์ผู้ดีอังกฤษจะเน้นสัดส่วนที่เท่ากันทั้งสองข้าง แต่สำหรับวิเวียน สูทของเธออาจมีปกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง แขนข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหรืออาจมีแขนข้างเดียว ชายเสื้อสูทไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน หรือแขนเสื้อที่มักโค้งมนตรงไหล่ อาจกลายเป็นมีมุมเหลี่ยม แหลมออกมาจนเวลาใส่ต้องพับมุม คอเสื้ออาจกลายเป็นชายกระโปรง ขณะที่ชายเสื้ออาจถูกใส่แทนคอเสื้อ

หลังจากศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอังกฤษอย่างจริงจัง วิเวียนเริ่มนำภูมิปัญญาแฟชั่นดั้งเดิมมาใช้ เป็นเสมือน "กล้องส่องย้อนอดีตแห่งแฟชั่น" วิเวียนยังสนใจการทำเสื้อผ้าเข้ารูป ด้วยเชื่อว่า "เสื้อผ้าคือการเปลี่ยนรูปทรงของร่างกาย" เธอใช้เทคนิคเพิ่มลดตัดเฉือนเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสรีระผู้สวมใส่ให้ดูดีแบบอุดมคติ และทำให้สิ่งที่เธอคิดว่า ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจที่สุด คือใบหน้าโดดเด่น

วงการแฟชั่นยังยกย่องวิเวียนเป็น "นักคิดทางแฟชั่น" เธอเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่เข้าใจเรื่องแพตเทิร์นในมุมมอง 3 มิติอย่างแท้จริง เช่น การใช้ผ้าสี่เหลี่ยม 2 ผืนวางเหลื่อมเย็บติดกันให้เกิดเหลี่ยมแหลมขึ้น หรือการใช้ผ้าสามเหลี่ยมวางเฉียงเย็บติดกันเพื่อตัดเป็นชุดเข้ารูป หรือกระเป๋าเสื้อที่โค้งรอบตัวเสื้อจนเกิดมูฟเมนต์ทุกครั้งที่ผู้สวมใส่เคลื่อนไหว

ซึ่งปุ๊คิดว่าทัศนคติของวิเวียน เวสต์วูด มีความน่าสนใจอย่างมากนะเพราะแฟชั่นไม่ได้มีกฎตายตัว

ไม่มีความคิดเห็น: