วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เพิ่มเติมการปะติดปะต่อ

ซึ่งประเด็นปุ๊ไม่แน่ใจว่ามันผ่านรึไม่ผ่านแต่ปุ๊ก็จะหาความหมายของการปะติดปะต่อในสิ่งที่สนใจ
<จากการที่ปุ๊สนใจเกี่ยวกับการปะติดปะต่อนั้น ปุ๊ก็ได้ไปรีเสริทเกี่ยวกับการปะติดปะต่อมา การปะติดปะต่อนั้นมันทำได้หลายอย่างแต่ที่ได้ไปค้นพบคำหนึ่งมาว่า patchwork คือ สิ่งที่เกิดจากการปะติดปะต่อกัน
ก็เลยเอาคำนี้มารีเสริทหาข้อมูลจนได้เป็นการปะติดปะต่อที่เกิดจากการเอาเศษผ้ามาปะติดปะต่อกัน







จากนั้นปุ๊ก็ได้ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการต่อผ้างานต่อผ้าจนได้ เรื่องของงานต่อผ้า (Quilting
ประวัติของงานQuilting เกิดจากการช่างคิดช่างทำของคนสมัยก่อนที่นำเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน จนเกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม และเกิดเป็นชิ้นงานขึ้นมา งาน Quilting มีประวัติมาช้านานทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย งาน Quilting กำเนิดมาจากนักรบชาวอียิปต์โบราณ คือเมื่อยามออกรบจะใช้เสื้อเกาะเป็นเหล็กและแข็ง ดังนั้นจึงมีการสวมเสื้ออีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความนุ่ม และป้องกันผิวที่ต้องเสียดสีกับเสื้อเกาะ และที่สำคัญคือให้ความอบอุ่น ให้วามมั่นใจในการออกสู้รบกับศัตรู เนื่องจากเสื้อหนานุ่มตัวนั้น จะแสดงถึงความรักความอบอุ่นที่ภรรยาได้ถักทอเย็บต่อผ้าจนกลายเป็นของขวัญสื่อแทนใจให้กับสามีในยามออกรบ

การต่อผ้า (Patchwork)คือ การนำผ้าที่เป็นรูปเรขาคณิตมาเย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่ หรือเกิดลวดลาย จะมีชื่อเรียกในแต่ละลายแตกต่างกันไป เช่น Log cabin , Eight point star , Pin wheel ฯลฯ
การปะผ้า (Applique')คือ การนำผ้าที่มีรูปลักษณะต่างๆ เช่น ต้นไม้ , ดาว , คน ฯลฯ มาเย็บสอยปะลงบนผ้าอีกชิ้น
การเย็บบุ (Quilting)คือ การนำผ้ามาวางซ้อนกัน 3 ชั้น คือ
- ผ้าชั้นบน (Quilt Top) มักจะเป็นผ้าฝ้าย เป็นชั้นที่ตกแต่งให้เกิดความสวยงามอย่างมีศิลปะ เช่น งาน Patchwork หรืองาน Applique'
- ส่วนชั้นใน (Batting) เป็นชั้นที่ให้ความนุ่มและความอบอุ่น ทำด้วยใยโพลีเอสเตอร์
- ผ้ารองด้านหลัง (Backing) มักจำทำด้วยผ้าฝ้ายเช่นเดียวกับผ้าชั้นบนนำผ้าทั้ง 3 ชั้น มาเย็บบุด้วยลวดลายต่างๆให้ติดกัน โดยเย็บให้เกิดเป็นลายนูนขึ้นมา

งานต่อผ้าหรือการต่อผ้ามันก็ยังสามารถต่อยอดไปได้อีกเรื่อยๆโดยที่ยังสามารถนำไปใช้และยังมีเทคนิคอีกหลายอย่างและปุ๊ก็คิดว่า
การปะติดปะต่อนั้นยังมีสิ่งอื่นที่สามารถนำมาปะติดปะต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็น lego หรือว่าสิ่งอื่นๆ โดยที่ปุ๊ก็จะหาข้อมูลต่อไป
แต่ปุ๊ว่าเรื่องผ้าที่เอามาปะติดปะต่อกันนั้นก็ดูน่าสนใจดีถึงแม้มันจะดูเป็นเรืองที่เค้าทำกันแต่ยังคงต้องนำมาทดลองและหาวิธีการเพิ่มเติมที่ดูน่าสนใจกว่านี้อย่างเช่นอาจจะเปลี่ยนไปใช้สิ่งอื่นเพื่อเอามาปะติดปะต่อกันจนได้สิ่งใหม่เกิดขึ้น

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ประเด็นที่จะนำเสนอ อาจารย์....

ปุ๊สนใจในเรื่องของ การปะติดปะต่อ ซึ่งมาจาก post modern ซึ่งการปะติดปะต่อเป็นการจับเอาลักษณะของสไตล์งานต่างๆหรือ element ต่างๆมาปะติดปะต่อรวมเข้าด้วยกันจนเกิดรูปแบบที่เป็นครึ่งๆกลางๆ ที่ดูแปลกตาออกไปจากปกติ ซึ่งมีการผสมผสานทั้งการออกแบบเก่าและใหม่ โดยที่ทำแบบนี้ก็เหมือนเป็นการทดลองเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น lego เพราะ lego นั้นเวลาจะเอามาเล่นมาเริ่มต่อนั้นเราก้อต้องเริ่มจากlego อันเดียวจากนั้นก็ต้องค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็นทีละอันสองอัน หรือเพิ่มไปเรื่อยๆตามจินตนาการของเราซึ่งเราไม่รู้ว่าเราจะต่อออกมาเป็นไร หรือว่างานวิชา com art ที่ปุ๊เพิ่งทำไปนั้นเป็นงานที่มีหัวข้อว่าประมาณว่า สิ้งที่มีอยู่แล้วนำทำลายแล้วนำมาสร้างใหม่ ปุ๊ก้อได้นำเอาเพลงทีมีอยู่แล้วประมาณ4เพลงนำมาตัด ยืด หรือว่ามาใส่เทคนิคหลายรูปแบบแล้วเอามิกซ์เข้าด้วยกันทำเป็นเพลงใหม่ขึ้นมา 1เพลง แล้วจากนั้นก็ได้นำมิวสิคที่มีอยู่แว้วมาตัด ยืด ใช้เทคนิคต่างๆให้มิวสิคนั้นแตกต่างไปจากเดิมแต่ก็มาทำให้เข้ากับเพลง จนได้เป็นมิสิควิดีโอและเพลงใหม่ 1 เพลง การปะติดปะต่อนั้นหรืออีกอย่างหนึงในความคิดของปุ๊นั้น ปุ๊คิดว่ามันอาจจะเหมือนกับการ คอลลาจ เหมือนว่าเอานู้นเอานี้สิ่งที่มีอยู่แล้วมาผสมกันจนได้ผลงานใหม่ 1ชิ้นเกิดขึ้นอย่างเช่น เอาหน้าคนนู้นมาใส่กับจมูกคนนี้แล้วเอาปากคนนั้นมใส่กับปากคนนี้ จนได้ใบหน้าใหม่ขึ้นมา 1หน้า
ปุ๊คิดว่าการปะติดปะต่อนั้นดูน่าสนใจเพราะเราสามารถเล่นกับพวก element หรือสิ่งของรอบๆตัวเราได้ แต่งานจะออกมาแนวไหนนั้นปุ๊ว่ามันต้องมีการทดลอง ทดลองไปเรื่อยๆเพื่อที่อาจจะได้แนวทางหรือเกิดงานอะไรสักอย่างเกิดขึ้นก็ได้

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Citizen Designer ตอน 3

จากในตอนที่2เราได้นำเสนอแนวคิดของ Bruce Mauไปแล้วทั้ง 12 ข้อ ในฉบับภาคภาษาไทย แต่อันนี้ได้นำภาคภาษาอังกฤษมานำเสนอ



ซึ่งจากแนวคิดของเค้านั้นสามารถทำเราได้เกิดการคิดและนำเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย
และจากครั้งที่แล้วที่ได้นำเสนอกลุ่มหนึ่งซึ่งมีแนวทางการทำงานคล้ายกับพวก Citizen Designer คือกลุ่มของ First Things First 2000 ซึ่งกลุ่มนี้เป็นการรวมตัวของเหล่านักออกแบบที่รุ่นใหม่ไฟแรงและมองโลกในแง่ดีเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณค่าของงานออกแบบ ซึ่งพวกเค้าคิดว่าพวกนักออกแบบมักจะให้ความสำคัญกับงานเพื่อการตลาดและการขายมากกว่าการใช้ประโยชน์ มันทำให้คนในสังคมกลายเป็นนักบริโภคอย่างสิ้นเชิง พวกเขาอยากที่จะให้นักออกแบบเวลาออกแบบนึกถึงในด้านของสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมในการออกแบบมากกว่าการเอาแต่ได้ ซึ่งในกลุ่มของ FTF นั้นมีผู้ลงนามโดยนักออกแบบแล้วถึง 33 คน ทำให้เห็นว่ามีการตะหนักถึงในการออกแบบมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Citizen Designer ตอน 2

ซึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้วหลังจากทีเราค้นคว้าเกี่ยวกับ Citizen Group มานั้นมันอาจจะยังไม่ตรงหรือเกี่ยวพันธ์กันซักเท่าไหร่แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ถึงจุดประสงค์ของพวก Citizen Group ว่า เค้าแค่อยากจะเปลี่ยนค่านิยมของผู้บริโภคที่ยังยึดติดกับตราสินค้า และบริษัทหรือผู้ผลิตนั้นให้เลิกนึกถึงแต่ ผลกำไร สิ่งที่ Citizen Designer พวกเขายังอยากให้เวลาในการออกแบบนั้นยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของชีวิตและคำนึกถึงอนาคต ซึ่งในการออกแบบของเค้าทำมาเพื่อสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลประโยชน์

ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Citizen Designer นั้นเราก้อยังมีบุคคลที่ยังคงทำงานและมีแนวทางกใล้เครียงกับงานแนว Citizen
เขาก็คือ Bruce Mau

Bruce Mau


ซึ่งเค้าเป็นกราฟฟิกดีไซน์ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีซึ่งเค้านั้นมีผลงานมากมาย เค้ามีการทำงานในรูปแบบที่หลากหลายและยัง
สามารถเอาไปพัฒนาในรูปแบบต่างๆ
โดยที่เค้าอาศัยหลัการการแก้ไขอย่างง่ายอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
และเค้าก็ได้มีแนวความคิดทีดูแล้วน่าสนอย่างยิ่ง
1.คนเราควรต้องมีจุดมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อจะได้มีแรงผลักดัน และรู้จักเปิดรับสิ่งต่างๆมาลองศึกษา
2.การเรียนรู้ไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สำคัญที่ว่า เราต้องรู้จักสำรวจ
3.กระบวนการทำงานสำคัญกว่าผลงานที่ออกมา เราควรใส่ใจในการกระบวนการคิดและทำให้มาก เพราะผลงานที่ดีหรือไม่ มันจะเกิดจากสิ่งเหล่านี้
4.รักที่จะทดลอง ถึงแม้การทดลองผลจะออกมาดีหรือไม่ดี ก็ควรที่จะสนุกกับมันและมองไปข้างหน้า เพราะผลทดลองที่ผิดพลาด ก็อาจเกิดความคิดในงานที่น่าสนใจใหม่ๆขึ้น ควรรักที่จะทดลองมากๆ
5.ค้นคว้าข้อมูลให้มากๆ เราควรที่จะรู้ลึกเกี่ยวกับหัวข้อที่เราจะศึกษา ยิ่งมีความรู้มากเท่าไร ผลงานก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น
6.ถ้าเกิดปัญหาในการทำงาน อย่าคิดว่ามันเป็นข้อผิดพลาด บางทีปัญหาเรานั้น อาจเป็นกุญแจไปสู่ไอเดียใหม่ๆได้เหมือนกัน
7.ห้องเรียน ควรใช้เวลาในห้องเรียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะบางทีเรากลับไปที่บ้านอาจไม่มีอุปกรณ์ที่เอื้อ อำนวยเท่าห้องเรียน
8.บางครั้งให้เราลองไม่มีจุดหมายดูบาง เช่น การเดินทางไปเรื่อยๆ ระหว่างที่เราขับรถ เราอาจจะพบเจอสิ่งดีๆ ตามข้างทาง แต่ก็ต้องอย่ารู้จักสังเกตุ
9.ให้ไปอยู่ในทุกๆที่ Jonh cage กล่าวว่า"การที่เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน (หลงทาง)ให้เรารู้จักที่จะเปลี่ยนตัวเราว่า เราไม่ได้หลง แต่เรากำลังเดินทางสังเกตุเหตุการณ์รอบๆตัวต่างหาก"
10.ทุกคนเป็นผู้นำ บางครั้งเราควรหัดเป็นผู้นำ และบางครั้งการเป็นผู้ตาม ก็สำคัญ
11.เก็บเกี่ยวความคิด มาวิเคราะห์เรียบเรียงให้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
12.อย่าหยุดอยู่กับที่ เพราะเวลาที่เราหยุด คนอื่นเค้าไม่ได้หยุด นำหน้าเราไป เราอาจตามไม่ทัน

ผลงานของ Bruce Mau






วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Citizen Design



CItizen Design เป็นองค์กรที่ออกแบบเกี่ยวกับที่พักอาศัยให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบ้าน, บังกะโล หรือการต่อเติมสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่
พวกเขาให้บริการทุกอย่างตั้งแต่ การวางแผนโครงสร้างไปจนถึงการก่อสร้าง และยังมีการเสนอผลงานในรูปแบบที่เป็นฯ 3 มิติ และเสนอเป็น model
เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นมุมมองในหลายๆด้านในการออกแบบมากขึ้น โดยทำทุกอย่าง เพื่อให้ลูกค้าได้รับความประทับใจมากที่สุด
พวกเขาสนใจในการใช้วัตถุดิบและวิธีการที่ช่วยสร้างสภาวะแวดล้อมให้ดีและยังคงช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย

งานสำคัญที่พวกเขาภูมิใจ คือ การสร้างบ้านใหม่หรือพยายามช่วยต่อเติมให้กับผู้ประสบภัยไฟป่าใน Sandiego กับองค์กร Rebuild ที่ทำเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู็รอดชีวิตจากไฟป่า
Citizen Group ได้รวบรวม Architecs และ Designers ที่เต็มใจสมัครเข้ามาร่วมโครงการ เพื่อช่วยเหลือ ผู็ประสบภัยไร้ที่อยู่

Citizen Group ก็ยังออกแบบหลายๆด้าน เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์, ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. ออกแบบโปสเตอร์ โบชัวร์ magazine เป็นต้น