วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Micro & Macro

เรื่อง Micro & Macro นั้นเป็นโปรเจคต่อมาที่อาจารย์ได้ให้เอานำกลับมาวิเคราะห์เพื่อนำมาทำเป็นFinal project หลังจากที่คิดงานเกี่ยวกับเื่รื่่อง ไมโคร และ แมคโคร นั้น ปุ๊ก็คิดเรื่อยๆ ครั้งแรกที่คิดเรื่อง micro & macro ซึ่งครั้งแรกที่เสนออาจารย์ไปนั้นบอกอาจารย์ไปว่า เปรียบเทียบเรื่อง ไมโคร และ แม็คโคร เป็นเรื่องราวของระยะการมองเห็น คือ เมื่อสิ่งหนึ่งอยู่ใกล้เราเราก็จะเห็นมันใหญ่เปรียบได้กับ แม็คโคร แต่เมื่อมันอยู่ไกลเราเห็นว่ามันเล็กเปรียบได้กับ ไมโคร หรืออาจเปรียบได้กับเสมือนว่าเป็นภาพลวงตา หรือ การซ้ำ แต่ซึ่งเมื่อเสนอไปแล้วนั้น ซึ่งอาจารย์ก็ได้บอกว่า มันเป็นทฤษฎีที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าควรที่จะคิดใหม่ และหลังจากที่นำเรื่อง ไมโคร แม็คโคร กลับมาคิดใหม่นั้น ก็คิดถึงเรื่องการเรียงตัวของเม็ดสี ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการสกรีน องศาการเรียงของเม็ดสี ซึ่งเมื่อนำไปเสนออาจารย์นั้น อาจารย์ก็บอกว่ามันดูน่าสนใจให้กลับนำไปคิดเป็นงานให้ดีๆ ให้วิเคราะห์ออกมาให้ทำงานที่ไม่ต้องยุ่งยาก ซึ่งปุ๊ก็นำกลับไปคิดเกี่ยวกับวิธีการเรียงเม็ดสี นึกถึงว่าเม็ดสีนั้นเป็น dot เป็นทรงวงกลม เป็นสี CMYK มีการเคลื่อนไหว คิดว่าถ้าสร้างเม็ดสีเป็น dot ด้วยอย่างอื่น โดยที่ไม่สกรีน ถ้าเม็ด dot เคลื่อนไหวได้ เอานู้นเอานี่มาสร้างเป็น dot หล่ะ! ซึ่งคิดไปต่างๆนานา แต่แล้วก็คิดไม่ออกว่างานจะออกมาเป็นเยี่ยงไร ก็เลยไปเจาะจงกับพวกเรื่องสี CMYK ฟ้า,ชมพู,เหลือง,ดำ คิดว่าเอาสีมาเล่นมันคงต้องออกมาเป็นงานอะไรซักอย่าง จึงคิดไปถึงเรื่องของการลวงตา โดยที่คิดไปถึงงานสามมิติ ที่เค้าใช้พวกแว่นสามมิติสีแดงน้ำเงินดูกัน ปุ๊จึงนำพวกสีCMYK มาเล่น โดยที่คิดว่าสร้างภาพมาหนึ่ีงภาพโดยที่รูปในภาพแต่ละชิ้นเกิดจากสีCMYK โดยที่คิดว่าอาจจะเอาสี C มาทับกับสี Y แต่ดูภาพโดยผ่านจากแผ่นพลาสติกสีแดง อยากรู้ว่าเมื่อเกิดการมองเช่นนี้ สีหรือลักษณะของรูปในภาพจะต่างจากเดิมไปเช่นไร กะที่จะทำให้ดุเป็นงานสามมิติ(แต่มันก็ไม่ได้เป็นมิติที่แท้จริงมากนัก) ซึ่งทั้ง3ภาพนั้นจะมีความสอดคล้องกันมีความหมายอยู่ นี่คือภาพทั้ง 3 รูปก่อนที่จะเอาแผ่นใสสีแดงทับซ้อนดู

แต่เมื่อเกิดการทับซ้อนแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าเกิดความแตกต่าง โดยที่แต่ละรูปเป็นภาพภาพเดียวกันแต่ลักษณะของการทับซ้อนของสีแตกต่างกัน ดังนั้นเวลาเอาแผ่นใสสีแดงทับซ้อนดูนั้นมันก็จะใหความหมายที่แตกต่างกัน
- ความหมายในภาพนั้นเมื่อเกิดการทับซ้อนแว้วนั้นมันก็จะเห็นต้นไม้ชัดเจน จะพูดถึงความที่เป็นธรรมชาติ


- ภาพอันนี้เมื่อเกิดการทับซ้อนแล้วนั้นก็จะเห็นได้ว่าอนุสาวรีย์จะเห็นเด่นชัดขึ้นมา ก็จะบ่งบอกถึงความเป็นประชาธิปไตย


-ส่วนอันนี้เมื่อเกิดการทับซ้อนแล้วนั้นก็จะเห็นพวกทหาร สงคราม เห็นขึ้นมาอย่างชัดเจน

แต่ซึ่งเมื่อไปส่งอาจารย์นั้น อาจารย์บอกว่ามันแหวกแนวออกไป และมันก็ไม่ได้อยู่ในประเด็นเรื่องของการเรียงตัวของเม็ดสีเลย อาจารย์บอกว่าควรนึกถึงแกนหลักของมัน คือการเรียงตัวของเม็ดสี แต่ไม่ต้องคิดอะไรให้มากหรือทำอะไรให้มันซับซ้อน ปุ๊ก็เลยต้องนำกลับมาคิดใหม่ ซึ่งเมื่อนำกลับมาคิดใหม่มันก็สู่แบบเดิมก็คือ คิดไม่ออก ปุ๊ก็เลยต้องไปค้นคว้าเกี่ยวกับการเรียงตัวของเม็ดสี และทั้งเรื่องของสี CMYK ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (ดำ) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ



โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) (โหมดสีนี้เป็นโหมดสีสำหรับงานพิมพ์ออฟเซ็ท) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ โหมดสีนี้จะใช้ในการเตรียมพิมพ์การพิมพ์สี่สี ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงินแต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสงหรือระบบสีRGB คือ แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan) แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง(Magenta) แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี(CMYK) ระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง100 % ปุ๊ค้นคว้าไปเจอกับลักษณะของเม็ดสกรีน โดยทั่วไปจะใช้เม็ดสกรีนแบบเม็ด square dot(เม็ด 50% เป็นสี่เหลี่ยม) กับแบบ Chain dot(เม็ด 50%เป็นรูปรีต่อเนือง) แบบ Chain dot จะช่วยทำให้ density jump มองไม่ค่อยเห็นเหมือน square dotต่ยังมีสกรีนแบบอื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันเรื่องนี้ได้อีก เช่น Respy dot contact screen หรือ tory plate contact screen และมีสกรีนแบบใช้งานพิเศษที่มีเม็ดสกรีนรูปร่างเป็นเม็ดทราย,คลื่น,อิฐ,วงกลม เส้นเดี่ยว เส้นกากบาท,ผิวไม้,ลายผ้า หินเล็กๆ รอยแกะสลัก เส้นกระจาย ซึ่งปุ๊ก็คิดว่าเม็ดสกรีนนั้นไม่ได้เป็นแค่วงกลม dot แต่จริงแล้วลักษณะของเม็ดสกรีนนั้นเกิดจากหลายรูปแบบหลายรูปทรง

URL=http://s202.photobucket.com/albums/aa288/bublepuzz/?action=view¤t=com4CMYK.flv][IMG]http://i202.photobucket.com/albums/aa288/bublepuzz/th_com4CMYK.jpg[/IMG][/URL]