วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เพิ่มเติมการปะติดปะต่อ

ซึ่งประเด็นปุ๊ไม่แน่ใจว่ามันผ่านรึไม่ผ่านแต่ปุ๊ก็จะหาความหมายของการปะติดปะต่อในสิ่งที่สนใจ
<จากการที่ปุ๊สนใจเกี่ยวกับการปะติดปะต่อนั้น ปุ๊ก็ได้ไปรีเสริทเกี่ยวกับการปะติดปะต่อมา การปะติดปะต่อนั้นมันทำได้หลายอย่างแต่ที่ได้ไปค้นพบคำหนึ่งมาว่า patchwork คือ สิ่งที่เกิดจากการปะติดปะต่อกัน
ก็เลยเอาคำนี้มารีเสริทหาข้อมูลจนได้เป็นการปะติดปะต่อที่เกิดจากการเอาเศษผ้ามาปะติดปะต่อกัน







จากนั้นปุ๊ก็ได้ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการต่อผ้างานต่อผ้าจนได้ เรื่องของงานต่อผ้า (Quilting
ประวัติของงานQuilting เกิดจากการช่างคิดช่างทำของคนสมัยก่อนที่นำเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน จนเกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม และเกิดเป็นชิ้นงานขึ้นมา งาน Quilting มีประวัติมาช้านานทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย งาน Quilting กำเนิดมาจากนักรบชาวอียิปต์โบราณ คือเมื่อยามออกรบจะใช้เสื้อเกาะเป็นเหล็กและแข็ง ดังนั้นจึงมีการสวมเสื้ออีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความนุ่ม และป้องกันผิวที่ต้องเสียดสีกับเสื้อเกาะ และที่สำคัญคือให้ความอบอุ่น ให้วามมั่นใจในการออกสู้รบกับศัตรู เนื่องจากเสื้อหนานุ่มตัวนั้น จะแสดงถึงความรักความอบอุ่นที่ภรรยาได้ถักทอเย็บต่อผ้าจนกลายเป็นของขวัญสื่อแทนใจให้กับสามีในยามออกรบ

การต่อผ้า (Patchwork)คือ การนำผ้าที่เป็นรูปเรขาคณิตมาเย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่ หรือเกิดลวดลาย จะมีชื่อเรียกในแต่ละลายแตกต่างกันไป เช่น Log cabin , Eight point star , Pin wheel ฯลฯ
การปะผ้า (Applique')คือ การนำผ้าที่มีรูปลักษณะต่างๆ เช่น ต้นไม้ , ดาว , คน ฯลฯ มาเย็บสอยปะลงบนผ้าอีกชิ้น
การเย็บบุ (Quilting)คือ การนำผ้ามาวางซ้อนกัน 3 ชั้น คือ
- ผ้าชั้นบน (Quilt Top) มักจะเป็นผ้าฝ้าย เป็นชั้นที่ตกแต่งให้เกิดความสวยงามอย่างมีศิลปะ เช่น งาน Patchwork หรืองาน Applique'
- ส่วนชั้นใน (Batting) เป็นชั้นที่ให้ความนุ่มและความอบอุ่น ทำด้วยใยโพลีเอสเตอร์
- ผ้ารองด้านหลัง (Backing) มักจำทำด้วยผ้าฝ้ายเช่นเดียวกับผ้าชั้นบนนำผ้าทั้ง 3 ชั้น มาเย็บบุด้วยลวดลายต่างๆให้ติดกัน โดยเย็บให้เกิดเป็นลายนูนขึ้นมา

งานต่อผ้าหรือการต่อผ้ามันก็ยังสามารถต่อยอดไปได้อีกเรื่อยๆโดยที่ยังสามารถนำไปใช้และยังมีเทคนิคอีกหลายอย่างและปุ๊ก็คิดว่า
การปะติดปะต่อนั้นยังมีสิ่งอื่นที่สามารถนำมาปะติดปะต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็น lego หรือว่าสิ่งอื่นๆ โดยที่ปุ๊ก็จะหาข้อมูลต่อไป
แต่ปุ๊ว่าเรื่องผ้าที่เอามาปะติดปะต่อกันนั้นก็ดูน่าสนใจดีถึงแม้มันจะดูเป็นเรืองที่เค้าทำกันแต่ยังคงต้องนำมาทดลองและหาวิธีการเพิ่มเติมที่ดูน่าสนใจกว่านี้อย่างเช่นอาจจะเปลี่ยนไปใช้สิ่งอื่นเพื่อเอามาปะติดปะต่อกันจนได้สิ่งใหม่เกิดขึ้น

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ประเด็นที่จะนำเสนอ อาจารย์....

ปุ๊สนใจในเรื่องของ การปะติดปะต่อ ซึ่งมาจาก post modern ซึ่งการปะติดปะต่อเป็นการจับเอาลักษณะของสไตล์งานต่างๆหรือ element ต่างๆมาปะติดปะต่อรวมเข้าด้วยกันจนเกิดรูปแบบที่เป็นครึ่งๆกลางๆ ที่ดูแปลกตาออกไปจากปกติ ซึ่งมีการผสมผสานทั้งการออกแบบเก่าและใหม่ โดยที่ทำแบบนี้ก็เหมือนเป็นการทดลองเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น lego เพราะ lego นั้นเวลาจะเอามาเล่นมาเริ่มต่อนั้นเราก้อต้องเริ่มจากlego อันเดียวจากนั้นก็ต้องค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็นทีละอันสองอัน หรือเพิ่มไปเรื่อยๆตามจินตนาการของเราซึ่งเราไม่รู้ว่าเราจะต่อออกมาเป็นไร หรือว่างานวิชา com art ที่ปุ๊เพิ่งทำไปนั้นเป็นงานที่มีหัวข้อว่าประมาณว่า สิ้งที่มีอยู่แล้วนำทำลายแล้วนำมาสร้างใหม่ ปุ๊ก้อได้นำเอาเพลงทีมีอยู่แล้วประมาณ4เพลงนำมาตัด ยืด หรือว่ามาใส่เทคนิคหลายรูปแบบแล้วเอามิกซ์เข้าด้วยกันทำเป็นเพลงใหม่ขึ้นมา 1เพลง แล้วจากนั้นก็ได้นำมิวสิคที่มีอยู่แว้วมาตัด ยืด ใช้เทคนิคต่างๆให้มิวสิคนั้นแตกต่างไปจากเดิมแต่ก็มาทำให้เข้ากับเพลง จนได้เป็นมิสิควิดีโอและเพลงใหม่ 1 เพลง การปะติดปะต่อนั้นหรืออีกอย่างหนึงในความคิดของปุ๊นั้น ปุ๊คิดว่ามันอาจจะเหมือนกับการ คอลลาจ เหมือนว่าเอานู้นเอานี้สิ่งที่มีอยู่แล้วมาผสมกันจนได้ผลงานใหม่ 1ชิ้นเกิดขึ้นอย่างเช่น เอาหน้าคนนู้นมาใส่กับจมูกคนนี้แล้วเอาปากคนนั้นมใส่กับปากคนนี้ จนได้ใบหน้าใหม่ขึ้นมา 1หน้า
ปุ๊คิดว่าการปะติดปะต่อนั้นดูน่าสนใจเพราะเราสามารถเล่นกับพวก element หรือสิ่งของรอบๆตัวเราได้ แต่งานจะออกมาแนวไหนนั้นปุ๊ว่ามันต้องมีการทดลอง ทดลองไปเรื่อยๆเพื่อที่อาจจะได้แนวทางหรือเกิดงานอะไรสักอย่างเกิดขึ้นก็ได้