วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

แฟชั่นทำลายโลก!!

แต่แฟชั่นภายใต้ข้ออ้างของศิลปะนั้นกลับได้รับการสดุดีถึงขีดสุด ไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องแต่งกาย แต่ยังรวมถึงสิ่งอื่นๆเช่น งานสถาปัตยกรรม อีกด้วย
สิ่งที่กวนใจเราก็ยังเป็นคำถามเดิมๆว่า เราต้องสูญเสียทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมทางแฟชั่น แล้วถ้าเทียบความจำเป็นในภาพรวมแล้วมันคุ้มหรือเปล่า?


พูดถึงเรื่องการใช้ขนสัตว์ก็เป็นที่รณรงค์ต่อต้านในทุกด้านทุกทางทั้งประชาชน กลุ่มพิทักษ์สัตว์ หรือว่าดารานักร้องอย่างเช่น
อีวา แมนเดส เปลือยโฆษณา ต่อต้าน เสื้อขนสัตว์




เรื่องของการต่อต้านเสื้อผ้าขนสัตวนั้นเป็นการกระทำเพื่อต่อต้านการนำเอาหนังสัตว์มาทำเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าและเครื่องประดับ
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์ด้วย การรณรงค์ต่อต้านเกิดขึ้นในหลายประเทศ การรณรงค์ต่อต้านประท้วงของเค้าก็มีทั้งการรวมใจนอนเปลือยตามถนน มีดารานักร้องมาถ่ายโฆษณาเปลือย มีการเผาทำลายเสื้อผ้าขนสัตว์

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Fashion คืออะไร?

แฟชั่นในความเข้าใจของปุ๊ในเรื่องของแฟชั่นนั้น เข้าใจว่าแฟชั่นคลอบคลุมทั้งเรื่องของการ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ เครื่องสำอางค์ ทรงผม ซึ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นแฟชั่นที่สังคมสร้างขึ้นมา ส่วนในทางวิชาการนั้นก็มีความจำกัดความของมันอยู่

ภาษาอังกฤษมีอยู่ 3 คำที่คนในวงการแฟชั่น ทั้ง Designer, ผู้ประกอบการ และร้านค้า ต่างเข้าใจตรงกัน คือ

1. Clothing คือการใส่เสื้อผ้า
2. Stylist คือสไตล์ Stylist Clothing คือการใส่เสื้อผ้าอย่างมีสไตล์ หรือ Fashionable Clothing
3. Fashion

ถามว่าเราใส่เสื้อผ้าทำไม? เพื่อปกปิดร่างกาย กันร้อนกันหนาว เสริมบุคลิกให้ดูดี หรือเพื่อความปลอดภัย Designer ควรต้องรู้ก่อนว่า คนใส่เสื้อผ้าเพราะอะไร? หรือควรคิดเล่นๆ ว่าถ้ามนุษย์ไม่ใส่เสื้อผ้าแล้วจะเป็นอย่างไร? สำหรับเหตุผลของการใส่เสื้อผ้า ไม่ใช่แค่เพียงปกปิดร่างกาย เราเลือกเสื้อผ้าใส่เพื่อบ่งบอกถึงอะไร? แล้ว Designer ควร Design ให้ถูก 3 ช่องทางที่ว่าข้างต้นนี้เป็นอย่างน้อย
แน่นอนว่ากลุ่มเสื้อผ้าทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ได้ยืนอยู่หรือเป็นตัวของมันเองอย่างแยกขาดจากกลุ่มอื่น แต่มันมีความสัมพันธ์กันทั้งเนื้อหาและการจัดการ ในเบื้องต้น มักจะคิดว่าเมื่อจะเป็น Designer ต้องมีบริษัท ต้องมี Studio ของตัวเอง นั่นเป็น Vision ที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตเสื้อผ้าแบบทำงานไปวันๆ ข้อสรุปเบื้องต้นก็คือ เสื้อผ้ามีความหลากหลาย ไม่ใช่หลากหลายในเชิงวัสดุหรือสไตล์ แต่มีความหมายของกลุ่มเสื้อผ้าที่หลากหลาย รวมถึงคนใส่ที่มีความสนใจในการเลือกที่หลากหลาย สอดคล้องกับบริบทของชีวิต
มันไม่ใช่ง่ายๆ ในการที่จะได้ Trend ขึ้นมา การที่จะผลิต Trend ก็ดี, การที่จะผลิต Style อะไรสักอย่างหนึ่งก็ดี, ต้องคิดจากพื้นฐานของความหลากหลายแล้ววางตำแหน่ง(Positioning) ให้ถูก
เสื้อผ้า คือ สื่อที่แสดงความหมาย
เสื้อผ้า คือสื่อที่ส่ง Message ไปสู่คนรอบข้าง เราไม่ได้พูดถึงเสื้อผ้าที่แขวนอยู่ในตู้ เพราะว่ามันบอกอะไรไม่ได้มากนัก อาจจะบอกได้ถึงสีสัน, การตัดเย็บ, สไตล์ของเสื้อผ้าว่ามันอยู่ใน Trend ไหน, แต่เราจะดูว่า เมื่อเสื้อผ้าถูกใส่โดยใครแล้ว นั่นถึงจะเข้าใจว่าเสื้อผ้านั้นมีความหมายอย่างไร อย่างครบถ้วน

เสื้อผ้าเพื่อการต่อต้าน / ประท้วง มีอีกหลายกรณี ที่การใส่เสื้อผ้าถูกใช้ในฐานะพื้นที่ของการต่อรองทางสังคม ในมิติแบบยื่นหมูยื่นแมว คุณไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง รูปแบบใดก็แล้วแต่ คุณไม่เห็นด้วยกับสิ่งอะไรรอบตัวก็แล้วแต่ เราสร้างการประท้วงผ่านการใส่เสื้อผ้า และผ่านกิจกรรมที่ดูเหมือนธรรมดาๆ ในรูปแบบอื่นๆ และในการต่อรองผ่านกิจกรรมสามัญเหล่านี้ ซ่อนลึกลงไปในระดับการผลิตเชิงสัญลักษณ์ ตรงที่คุณไม่เห็นด้วย แต่คุณไม่ประท้วงตรงๆ

บรรดาพวกเด็กแนวทั้งหลาย มีหลายแนวเหลือเกิน การแต่งตัวของกลุ่มแนวเหล่านั้น ถือว่าเป็นการต่อรองต่อรสนิยมของสังคมมาตรฐานได้ไหม? การต่อรองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมี Pattern ของความเชื่อ ของคุณค่าสังคมชุดหนึ่ง ที่พยายามจะทำให้ทุกคนปฏิบัติตาม Pattern นั้นๆ (Dominant Culture - วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลครอบงำ) เมื่อมีกลุ่มคนที่ใช้ Brand Name, กลุ่มคนที่มีทุน, มีอำนาจทางเศรษฐกิจ, ระดับการศึกษา, ทุนทางวัฒนธรรม และมีรสนิยม ที่(อ้างว่า)สูงกว่า ประกอบกับสื่อรอบๆ ตัวที่พยายามจะตอกย้ำ มาตรฐานการใช้ชีวิตแบบนั้นๆ ผ่านละครทีวีก็ดี, การโฆษณาหรือสื่ออื่นๆ ก็ดี การวิจารณ์ต่อรสนิยมแบบสูงๆ เหล่านั้น ผ่านเสื้อผ้าหรือการเลือกสไตล์ของเสื้อผ้าแบบแนวๆ หรือแหวกแนว จะก่อตัวขึ้น

จะมีคนกลุ่มแนวต่างๆ ที่รู้สึกว่า แล้วทำไมต้องเอาอย่างการใช้ของและมีชีวิตแบบนั้นด้วย ทำไมต้องมีแบบแผน (Pattern)แบบเดียว จากนั้นก็พยายามจะดีไซน์รูปทรง หรือรูปแบบการใช้ชีวิตอีกแบบอื่น ที่เป็นแนวต่างๆ ขึ้นมา กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ยอมที่จะอยู่ภายใต้โครงสร้างของการควบคุมตามแบบแผนของการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ หรือแบบที่ถูกยอมรับผ่านภาพของวัฒนธรรมที่อ้างว่าตัวเองเหนือกว่า

ฉะนั้นการแต่งตัวของเด็กแนวต่างๆ จึงมีระหัสของความต้องการในการผลิต และส่งสารในเชิงวิพากษ์สังคม เขาอยากมีชีวิตของเขา นี่คือการต่อรอง

ยังมีการต่อรองที่มองเห็นได้ยากแต่มีปฏิบัติการ และกิจกรรมที่มีพลังเชิงวิพากย์อีกมากมาย ที่กำลังทำงานอย่างแข็งขันใน Segment ของตัวเอง อย่างเช่นวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนมัธยมจะเห็นได้ชัด ขอให้ได้ซอยผม ขอให้ได้ย้อมซักนิด, ขอ Tattoo สักหน่อย, ในที่ที่เขาไม่สามารถแสดงตัวตนได้ เขาก็จะซ่อนไว้ แต่เมื่อไรก็ตามที่เขาเข้าไปอยู่ในที่ของเขา ในกลุ่มคน ในกลุ่มเพื่อนที่ Share ความรู้สึก หรือ Share คุณค่าเดียวกัน เขาก็จะสามารถแสดงออกอย่างเต็มที่

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วทำไมต้องหลบๆ ซ่อนๆ มีที่ไหนบ้างที่เป็นสาธารณะให้คนเหล่านี้ได้ทำอะไรที่ไม่ต้องหลบซ่อน หรือในที่สาธารณะคนเหล่านี้ไม่มีชีวิตอยู่จริง สาธารณะของใคร? ผ่านการดูดซับเข้าระบบทุนกระแสหลัก การต่อรองหลายรูปแบบที่เคยอยู่ในวงแคบๆ จะถูกยอมรับกว้างขวางขึ้นได้ในเวลาต่อมา

เด็กแนวแบบแท้ๆ จะถูกเปลี่ยนเป็นแนวที่ถูกยอมรับและเป็นแนวที่เอามาค้ากำไรได้ ขณะที่เจ้าของแนวเดิมๆเหล่านั้น ถูกกันออกไปและไม่มีส่วนในการแบ่งคุณค่า(รายได้) ผ่านกระบวนการผลิตซ้ำในระบบทุน ซึ่งมีกลไก ที่ Advance และซับซ้อนขึ้น

กลุ่มแนวต่างๆในปัจจุบันจึงมีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ เหตุเพราะเมื่อแนวแท้ๆ ซึ่งเคยมีชีวิตของเจ้าของแนวฝังตัวอยู่ด้วย ถูกปลิดวิญญาณออก เหลือแต่ Form ด้วยกลไกการรีด การเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสินค้า และการแปลงทรัพย์และศิลป์ ให้เป็นทุน (ของใครหรือ?) สไตล์ในแนวต่างๆ ถูกลดทอนลงเหลือแค่ "ความนิยมชั่ววูบ" กลไกทุนที่ Advance นี้ ยอมให้สังคมผลิตสไตล์ในแนวต่างๆ มีทางเลือกของการบริโภคแนวต่างๆ มากขึ้น ในขณะที่ "การบริโภค"ด้วยตัวของมันเอง คือความจำเป็นอย่างไม่มีทางเลือก

การต่อรองจะเกิดขึ้นเมื่อมี Pattern หรือแบบแผนอะไรบางอย่างที่พยายามจะอ้างความเป็นมาตรฐานของการใช้ชีวิต มนุษย์จะไม่อยู่ในโลกแบบเชื่องๆ เขาจะแปลความหมายโลกที่เป็นอยู่ แล้วทำความเข้าใจมัน ถ้าเชื่อดังนี้แล้ว เราจะไม่สร้างสังคมของการบริโภค

แฟชั่นกลายเป็นเรื่องของการ “ขายภาพลักษณ์” “บุคลิก”
อย่างที่ผู้สวมใส่อยากจะเป็น เกิดบุคลิกซ้ำ ๆ ขึ้นเต็มไปหมด
ความฟุ่มเฟือย เริ่มขึ้นตามราคาที่สูงขึ้นของแฟชั่น เพราะระบบ
ของแฟชั่นเปลี่ยนไป ทั้งด้วย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รูปแบบการผลิตที่เปลี่ยนไป
รวมทั้งการเดินแฟชั่นโชว์ ซึ่งเป็นการโฆษราประชาสัมพันธ์ที่แสดงออกความเป็น แฟชั่น ได้มากที่สุด แต่เบื้องหลัง Catwalk เต็มไปด้วยการเมืองของผลประโยชน์ ไม่ใช่
แค่การต่อรองของ Organization หรือองต์กรการจัดการของผู้จัดการแฟชั่นโชว์เท่านั้น แต่กว่า
จะได้ Set แฟชั่นมาเดินบน Catwalk ต้องต่อรองแล้วต่อรองอีก กับหลายๆฝ่าย. แฟชั่นบางชุด
ใช้เวลา 5 ปี จนบางครั้งมันล้าสมัยไปแล้วยังไม่ได้เดินบทเวทีเลย มัวแต่เจรจาเกี่ยวกับ Concept
หรือแนวความคิดกันอยู่ รวมไปถึงใครได้ ใครเสีย ใครจะซื้อ ใครจะตัดชิ้นเค้กตรงไหนหลังจาก
แฟชั่นลงจาก Catwalk สังคมจะเอาแฟชั่น ชุดนั้นไปประยุกต์ใช้อย่างไร มันเป็นการต่อรองของ
นักออกแบบในเชิงสัญลักษณ์ Concept และการจัดการ

ปัญหาของแฟชั่นคือ ก่อให้เกิดการแยกกลุ่ม การแบ่งแยก ชนชั้นทางสังคม
เพราะแฟชั่นมีรูปลักษณะในการตัดสินอยู่ 2 แบบ คือ
1. ลักษณะแบบ ราชการ ที่เชื่อว่า
ชนชั้นทางสังคมนั้นมีรูปทรงเป็น พิระมิด แบ่งเป็นระดับคือ
- Hi-Class
- Upper-Class
- Middle-Class
- Low-Class
และผู้ที่อยู่ยอดสุดของพิระมิดเป็นผู้กำหนด เทรนด์ TREND ของแฟชั่น
รูปแบบการใช้ชีวิต ของชนชั้นที่ต่ำชั้นลงมา แล้วชนชั้นถัดลงมา ก็นำมาใช้
2. ลักษณะแบบ ประยุกต์
คือคนที่อยู่ยอดสุดของ ระบบชนชั้นแบบพิระมิด เป็นผู้กำหนด เทรนด์ ของแฟชั่น
รูปแบบการใช้ชีวิต แล้วชนชั้นถัดลงมา ก็ Copy ลอกเลียนแบบมาใช้
แต่ เกิดมีการหมั่นไส้ ชนชั้นที่สูงกว่าตามมา จากการ copy ก็เริ่มสร้างรูปลักษณ์ความเป็นตัวเอง
ขึ้น คือการสร้างอัตลักษณ์ใหม่จากการลอกเลียนแบบ
ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะคล้อยตามวิธีปฏิบัติแบบกำหนดชนชั้น ถึงแม้รูปแบบที่ 2 จะมีการคิดต่างแต่ก็ยังคงเกิดระบบชนชั้นขึ้นอยู่ดี ไม่มีการพยายามทำลายระบบนี้ลง เพียงแค่เป็นการแสดงทัศนคติ
การกำหนดทิศทางแฟชั่น คือ การกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในทุก ๆ แขนง

ยกตัวอย่างทัศนคติแฟชั่น ของวิเวียน เวสต์วูดที่เค้ามีความแปลกแยกออกไป

เคยเห็นเสื้อยืดที่มีธงยูเนี่ยนแจ็ก ((ธงสหราชอาณาจักร)) เต็มอกเสื้อมั้ย?
หรือกางเกงยีนส์ที่มีธงยูเนี่ยนแจ็กอยู่ที่กระเป๋าหลัง?
กางเกงหนังรัดติ้ว แต่นุ่มนวลและมันวับ
รองเท้าบูทสูงถึงเข่าล่ะ?
เธอเป็นดีไซเนอร์ชาวอังกฤษในแนวพังค์ร็อก และนิวเวฟ ผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นระดับโลก นับตั้งแต่ยุค 70 ในช่วงของยุค
"พังค์" ยุคแรก วิเวียนแสดงออกถึงการต่อต้านสังคมระบบชนชั้นผู้ดี ผ่านงานดีไซน์ในหลากวิธี เช่น วัสดุนอกกรอบทั้งกระดูกไก่ ยางรถยนต์ หมุด โซ่ ภาพจากนิตยสารเก่า ฯลฯ ถูกนำมาสร้างเป็นเสื้อยืดดิบๆ ในสังเวียนแฟชั่นยุคแรกคือ วิเวียนไม่ได้ขายแค่เสื้อผ้าสไตล์พังก์ร็อก แต่สิ่งที่เธอพยายามเสนอขายแก่สังคมคือ ทัศนคติ (attitude) ที่ว่า "กล้าที่จะยืนนอกกรอบ แล้วบอกว่านี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ"
วิเวียนยังใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพศอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ลายหน้าอกผู้หญิงและรูปคาวบอยเปลือยบนเสื้อยืด หรือกระดุมรูปศิวลึงค์ รวมทั้งการเฉือนเสื้อผ้าให้ขาดวิ่นเห็นเนื้อหนังบริเวณหน้าอก และการนำชุดชั้นในมาใส่ด้านนอก ฯลฯ "งานของฉันคือการประจันหน้ากับสถาบันทางสังคม พยายามค้นหาว่าอิสรภาพของฉันเองอยู่ที่ไหน และทำอย่างไรเพื่อให้ได้มันมา" วิเวียนใช้เสื้อยืดลามกเป็นสื่อ เพื่อค้นหาจุดยืนและอิสรภาพที่คนชนชั้นกรรมาชีพเช่นเธอโหยหา

เสื้อผ้าของวิเวียนหลายชิ้นมักถูกวิจารณ์ว่า "ใส่จริงไม่ได้" ทั้งความแปลกของวัสดุ ลวดลาย สัดส่วนโครงสร้าง และแพตเทิร์นการตัดเย็บ แต่เธอมีมุมมองว่า "เสื้อผ้าของฉันอาจดูนอกลู่นอกทาง เพียงเพราะผู้คนไม่ได้คาดคิด แต่สิ่งที่ฉันทำก็เพื่อประณามความจืดชืดและความน่าเบื่อของแฟชั่นธรรมดาเหล่านั้น"

ยุค 1980 เป็นช่วงที่วิเวียนได้แหกกฎการตัดเย็บชั้นสูงแบบอังกฤษ ขณะที่การตัดเย็บสไตล์ผู้ดีอังกฤษจะเน้นสัดส่วนที่เท่ากันทั้งสองข้าง แต่สำหรับวิเวียน สูทของเธออาจมีปกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง แขนข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหรืออาจมีแขนข้างเดียว ชายเสื้อสูทไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน หรือแขนเสื้อที่มักโค้งมนตรงไหล่ อาจกลายเป็นมีมุมเหลี่ยม แหลมออกมาจนเวลาใส่ต้องพับมุม คอเสื้ออาจกลายเป็นชายกระโปรง ขณะที่ชายเสื้ออาจถูกใส่แทนคอเสื้อ

หลังจากศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอังกฤษอย่างจริงจัง วิเวียนเริ่มนำภูมิปัญญาแฟชั่นดั้งเดิมมาใช้ เป็นเสมือน "กล้องส่องย้อนอดีตแห่งแฟชั่น" วิเวียนยังสนใจการทำเสื้อผ้าเข้ารูป ด้วยเชื่อว่า "เสื้อผ้าคือการเปลี่ยนรูปทรงของร่างกาย" เธอใช้เทคนิคเพิ่มลดตัดเฉือนเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสรีระผู้สวมใส่ให้ดูดีแบบอุดมคติ และทำให้สิ่งที่เธอคิดว่า ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจที่สุด คือใบหน้าโดดเด่น

วงการแฟชั่นยังยกย่องวิเวียนเป็น "นักคิดทางแฟชั่น" เธอเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่เข้าใจเรื่องแพตเทิร์นในมุมมอง 3 มิติอย่างแท้จริง เช่น การใช้ผ้าสี่เหลี่ยม 2 ผืนวางเหลื่อมเย็บติดกันให้เกิดเหลี่ยมแหลมขึ้น หรือการใช้ผ้าสามเหลี่ยมวางเฉียงเย็บติดกันเพื่อตัดเป็นชุดเข้ารูป หรือกระเป๋าเสื้อที่โค้งรอบตัวเสื้อจนเกิดมูฟเมนต์ทุกครั้งที่ผู้สวมใส่เคลื่อนไหว

ซึ่งปุ๊คิดว่าทัศนคติของวิเวียน เวสต์วูด มีความน่าสนใจอย่างมากนะเพราะแฟชั่นไม่ได้มีกฎตายตัว

โลกของแฟชั่นทำลายโลกเยี่ยงไร?

จากการเมื่ออาทิตย์ที่แล้วปุ๊ได้นำเสนอเรื่องโฟมอีกครั้ง แต่มันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ อาจารย์มะลิและอาจารย์เคลวินจึงให้เปลี่ยนประเด็น อาจารย์เคลวินจึงให้ปุ๊ไปหาข้อมูลในเรื่องของ "โลกของแฟชั่นทำลายโลกเยี่ยงไร?"มานำเสนอในอาทิตย์ต่อไป...ทำให้ปุ๊ต้องไปคิดๆและและคิดเยอะคิดต่อมากๆ

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

โฟม..........จ๋า โฟม

ปุ๊เลือกที่จะสนใจในเรื่องโฟม ซึ่งปุ๊คิดว่าโฟมนั้นมันยอู่รอบตัวเราและเป็นสิ่งปฏิกูลที่เมื่อใช้เสร็จแล้วไม่ก่อประโยชน์ใดๆ



โฟม เป็นคำที่รู้จักกันทั่วไปซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มีความหมายกว้างมาก หากพิจารณา ตามคำแปล หมายถึง ฟู โฟมในที่นี้จึงหมายถึง พลาสติกที่ฟูหรือขยายตัว ซึ่งพลาสติกก็มีอยู่ มากมายหลายประเภท และ ในบรรดาพลาสติกหลายประเภทที่มีในโลกนั้น หากผ่านกระ บวนการที่ใช้สารขยายตัว (Blowing Agent) ก็จะทำให้พลาสติกนั้นกลายเป็นโฟมได้ซึ่ง เรียกกันทั่วไปว่า Foam Plastic ตัวอย่างของโฟมพลาสติกที่รู้จักกันทั่วไปเช่น ฟองน้ำ กล่องโฟมใส่อาหาร โฟมแผ่น โฟมฉีดพ่นเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกเหล่านี้ ล้วนแต่ผลิตจากพลาสติกแตกต่างประเภทกันไป

ในที่นี้จะกล่าวถึงโฟมซึ่งผลิตจากพลาสติกประเภท / PS เท่านั้นซึ่งใช้ทำ กล่องโฟมใส่อาหาร และโฟมลอยกระทง เป็นต้น

ประเภทของโฟม
โฟมพลาสติกประเภท / PS มี 2 ประเภทหลักคือ

1. Expandable / EPS ที่ใช้บรรจุสินค้ามีค่าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์,ตู้เย็น,เครื่องใช้ ไฟฟ้า และ หมวกกันน็อค โฟมกล่องน้ำแข็ง รวมถึงโฟมแผ่น และ โฟมก้อนที่ใช้ทำถนน เป็นต้น
2. Paper / PSP ที่ใช้ทำถาดหรือ กล่องโฟมบรรจุอาหาร

กระบวนการผลิตโฟมเป็นอย่าไร
1. Expandable หรือ EPS คือโฟม PS ที่ใช้ ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent)

ในระหว่าง กระบวนการผลิตวัตถุดิบที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำปฏิกิริยากักเก็บก๊าซ Pentane เอาไว้ภายในเมื่อนำมาผลิตโฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัว และเมื่อได้รับความร้อนจากไอน้ำ (Steam) ก็จะกลายเป็นเม็ดโฟมขาว ๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูป (Molding) ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

1.1 อัดขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ ตามลักษณะแม่ พิมพ์ที่ทำ (Shape Molding) เช่น เป็นกล่องน้ำแข็ง และ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ 1.2 อัดขึ้นรูปเป็นก้อนสี่เหลี่ยม (Block Mold- ing) แล้วนำมาตัดตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ


โดยทั่วไปโฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50 เท่าและเมื่อขยายตัว แล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98% ของปริมาตร มีเพียง 2% เท่านั้นที่เป็นเนื้อพลาสติก PS และนี่คือสาเหตุที่ทำให้โฟมมีขนาดใหญ่แต่กลับมีน้ำหนักเบาคุณลักษณะนี้เองที่ทำให้ โฟม EPS สามารถรองรับแรงกระแทกได้อย่างดีเหมาะสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าและยัง รองรับถ่ายเทน้ำหนักในแนวดิ่งโดยไม่เสียรูปทรงจึงใช้เป็นวัสดุถมในการทำถนนเพื่อแก้ปัญหา ถนนทรุด และยังใช้เป็นฉนวนรักษาความร้อนและเย็นเนื่องจากอากาศที่มีอยู่ภายในถึง 98 % ทำหน้าที่เป็นฉนวนได้อย่างดี

2. Paper / PSP คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซหุงต้มหรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัววัตถุดิบที่ใช้ก็คือเม็ดพลาสติก PS ทั่วไปซึ่งเข้าสู่ กระบวนการฉีดโดยใช้สกรูซึ่งมีความร้อนจาก ไฟฟ้า เช่น เดียวกับการฉีดพลาสติกทั่วไป (Screw Extrusion) เมื่อเม็ดพลาสติก PS ผ่านสกรูความร้อนก็จะหลอมตัว ขณะที่จะออกจากปลายสกรูก็จะถูกฉีดก๊าซ Butane (C4H10) ซึ่งก็คือแก๊สหุงต้มที่ใช้ตาม ครัวเรือน ผสม เข้าไปทำปฏิกิริยาให้พลาสติกที่กำลังหลอมนั้นเกิดการขยายตัวประมาณ 20 เท่า ฉีดออกเป็นแผ่นแล้วม้วนเข้าคล้ายม้วนกระดาษ (จึงเรียกว่า Paper / PSP) จากนั้นก็จะนำม้วนโฟม PSP ที่ได้ไปขึ้นรูปด้วยความร้อนตามลักษณะแม่พิมพ์ (Thermal Forming) เช่น เป็นกล่องใส่อาหารหรือถาด เป็นต้น

ทำไมโฟม ถึงไม่ใช้สาร CFC

พีเอสโฟม ทั้ง EPS และ PSPประกอบไปด้วยอากาศถึง 95-98% ส่วนที่เหลืออีก 2 - 5% ก็คือเนื้อพลาสติกโพลีสไตรีน ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน CFC's (Chlorofluoro carbons) คือสารประกอบ คลอไรน์, ฟลูออไรน์ และคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่าง จากโพลีสไตรีนที่เป็นเนื้อโฟมและเนื่องจาก CFC'S มีจุดระเหยต่ำจึงยากต่อการกักเก็บ ไว้ในเม็ดวัตถุดิบ โฟม EPS จึงไม่เคยใช้สาร CFS's ในกระบวนการผลิตเลยนับตั้งแต่ บริษัท BASF แห่งเยอรมันผลิตโฟม EPS ขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 1952 สารที่ใช้ทำให้โฟม EPS ขยายตัวก็ คือ ก๊าซเพนเทนซึ่งไม่มีคลอไรน์

โฟม PSP ในตอนเริ่มแรกนั้นมีการใช้สาร CFC's แต่เมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมาสาร CFC's ได้ถูกลดปริมาณการใช้ลงทั้งในอุตสา หกรรมพลาสติก และ อุตสาหกรรมเครื่องทำ ความเย็นผู้ผลิตโฟม PSP จึงหันมาใช้ก๊าซ บิวเทนแทนตั้งแต่ประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ก๊าซบิวเทน ก็คือก๊าซหุงต้มที่ใช้กันอยู่ทุกบ้าน เรือนในปัจจุบัน ดังนั้นในทุกวันนี้สารที่ทำให้โฟมขยายตัวก็คือ ก๊าซเพนเทน และก๊าซหุงต้ม ก๊าซทั้งสองชนิดนี้คือ สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับพลาสติกโพลีสไตรีน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้อยู่ในตระกูลเดียวกับ ก๊าซมีเทน, อีเทน และโพรเพนที่รู้จักกันอยู่

โฟมที่ใช้แล้ว ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง
นอกจากนำกลับไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลแล้วโฟม EPS ที่ใช้แล้วยังสามารถจัดการได้ ดังต่อไปนี้

1.ผสมดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูกเนื่องจากโฟม EPS ที่บดแล้วจะช่วยให้ดินร่วนซุยและอากาศที่อยู่ภายในจะเป็นประโยชน์ต่อรากของพืช

2.ผสมคอนกรีตเพื่อใช้ในการก่อสร้างเนื่องจากโฟม EPS มีคุณสมบัติเป็นฉนวนและมีน้ำ หนักเบาการใช้โฟม EPS ที่บดแล้วผสมในคอนกรีตจะทำให้ลดน้ำหนักวัสดุนั้นและยังรักษา อุณหภูมิของสถานที่ก่อสร้างได้อย่างดี 3.เผาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเนื่องจากโฟม EPS มีอากาศอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่หากถูกเผาโด ยใช้ความร้อนสูงถึงประมาณ 1000 องศาเซล เซียล จะทำให้การเผาโฟมที่บดแล้วนั้นเป็นไป โดยปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวด ล้อมโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ โดยโฟม EPS ที่เผาด้วยกระบวนการดังกล่าว 1 กก. สามารถ ให้พลังงานเท่ากับน้ำมัน 1.2 - 1.4 ลิตร


การรีไซเคิลโฟม
เนื่องจากโฟม EPS และ PSP ทั้งสองประเภท คือพลาสติกโพลีสไตรีน () ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastics) ทั้ง EPS และ PSP จึงสามารถนำกลับมารีไซเคิล เป็นพลาสติกโพลีสไตรีนได้อีก


กระบวนการรีไซเคิลโฟมทั้งสองประเภทเริ่มด้วยการบดเศษโฟมให้มีขนาดเล็กลงจากนั้นจึง นำเศษโฟมบดไปหลอมหรืออัดการหลอมทำได้โดยโดยใช้สกรูความร้อน (Screw Extru- sion) ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวการอัดบดทำได้ด้วยใบมีดระบบ Agglomeration โดยได้ รับความร้อนจากแรงดัน และ แรงเสียดทาน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลวของพลาสติก

พลาสติก PS ที่ได้จากการรีไซเคิลโฟมสามา รถนำมาผลิตเป็นสินค้าพลาสติกทั่วไป เช่น ตลับเทปเพลง ม้วนวีดี โอเทป ไม้บรรทัด กล่องดินสอ จานรองแก้ว เป็นต้น นอกจากนั้นเศษโฟม EPS ที่บดแล้วสามารถ นำกลับไปใช้ผสมกับเม็ดโฟมใหม่ แล้วนำไป ผลิตเป็นโฟมซ้ำได้อีก

สภาพการรีไซเคิลโฟม PS
การรีไซเคิลโฟม PS ในเมืองไทยมีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการรีไซเคิลพลาสติกทั่วไป บรรดาผู้ผลิตโฟมทั้ง EPS และ PSP ต่างก็มีศักยภาพในการรีไซเคิลโดยการนำกลับมาใช้ ในกระบวนการผลิตในระดับหนึ่งทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบและจัดการของเสียจาก การผลิตโดยอัตราของเสียในการผลิตโฟม EPS โดยเฉลี่ยไม่เกิน 5 % คิดเป็นปริมาณของ เสียในแต่ละเดือนมีประมาณ 125 ตัน ส่วนอัตราของเสียในการผลิตโฟม PSP โดยเฉลี่ยไม่ เกิน 20 % (ทั้งนี้เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตนั้นแตกต่างกันจึงทำให้อัตราของเสียจากการ ผลิตไม่เท่ากัน) คิดเป็นปริมาณของเสียในแต่ละเดือนประมาณ 300 ตัน


นอกจากการรีไซเคิลโดยผู้ผลิตโฟมเองแล้วยังมีผู้รับซื้อเศษของเสียจากโรงงานผลิต โฟมเพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นพลาสติก PS เกรดต่ำอีกด้วย

ในอดีตที่ผ่านมาการรีไซเคิลโฟม PS ที่จัดเก็บจากสาธารณะนั้นยังมีไม่มากเท่าที่ควรเนื่อง จากประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโฟม PS อันเป็นเหตุให้ เกิดทัศนคติที่ไม่ดีโดยเฉพาะประเด็นการรีไซเคิลโฟมซึ่งหลายๆคนยังเข้าใจว่า โฟมรีไซเคิล ไม่ได้ซึ่งไม่เป็นความจริงนอกจากนั้นกระบวนการจัดเก็บโฟม EPS ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาทำให้ต้นทุนการขนส่งค่อนข้างจะสูงกว่าพลาสติก ประเภทอื่น

แต่ปัจจุบันกลุ่มฯ ได้พยายามทำการประชาสัม พันธ์เผยแพร่ข้อเท็จจริงและความรู้ ความเข้า ใจที่ถูกต้อง และ นอกจากนั้นยังดำเนินการ สร้างเครื่องอัดโฟมเพื่อลดขนาดโฟมที่จัด เก็บให้มีขนาดเล็กลงและได้น้ำหนักมาก ขึ้นเพื่อลดต้นทุนการขนส่งจากทีต่างๆ ไปยังโรงงานรีไซเคิลอันจะช่วยให้กระบวน การจัดเก็บโฟมกลับมารีไซเคิลมีมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมโฟม PS ในเมืองไทย
อุตสาหกรรมโฟม PS ในเมืองไทยนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากการผลิตโฟม EPS ประเภทก้อนสี่เหลี่ยม (Block Molding) เพื่อใช้ทำผนังห้องเย็น (Cold Storage Panel) ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมในประเทศเริ่มเติบโตมากขึ้นการใช้โฟม EPS เพื่อบรรจุสินค้าโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส ์เพื่อการส่งออกจึงเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ. 2520 ต่อมาได้มีการใช้โฟม EPS ในการก่อสร้าง อาคาร คอสะพาน และถนนอีกด้วย

ปัจจุบันมีผู้ผลิตวัตถุดิบ EPS ในประเทศอยู่ 5 ราย และผู้ผลิตโฟม EPS ประมาณ 25 ราย ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ซึ่งมีกำลังการผลิตโดยรวมในประมาณ 2800 - 3000 ตันต่อเดือน

โฟม EPS ที่ผลิตส่วนใหญ่นั้นจะใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์เพื่อการส่งออก เป็นหลัก นอกจากนั้นกล่องโฟมที่ผลิตจากโฟม EPS ยังใช้สำหรับบรรจุอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อส่งออก เช่นกัน

สำหรับโฟม PSP นั้นเริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาโดยมีผู้ผลิตวัตถุดิบ (ซึ่งก็คือเม็ด พลาสติก PS) ในประเทศ 5 ราย และผู้ผลิต โฟม PSP 10 ราย ซึ่งมีเพียงรายเดียวที่ไม่ได้ ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ กำลังการผลิตโดยรวมใน ปัจจุบันประมาณ 1300 - 1500 ตันต่อเดือน โฟม PSP จะผลิตเป็นถาดหรือกล่องสำหรับใส่ อาหารเป็นหลักซึ่งมีสัดส่วนในการส่งออกประมาณ 30 %



จากการที่ปุ๊ได้ศึกษากระบวนการของโฟมนั้น ปุ๊ก็มาวิเคราะห์เกี่ยวกับโฟม
ปุ๊รู้สึกว่าข้อดีนั้นมันมีมากกว่าข้อเสียซะอีกเพราะคนส่วนใหญ่ที่จะทำเกี่ยวกับการลดพลังงานก็เลือกที่จะเอาข้อเสียมา
ปุ๊จึงอยากนำข้อดีของมันมาทำให้เกิดประโยชน์อาจจะเป็นการรีไซเคิล การนำเอาโฟมกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์แต่ก็ยังไม่รู้เลยว่าจะทำอะไรดี

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ลดสภาวะโลกร้อน...............Com DESIgn 5

ได้ทำเรื่องโลกร้อน
ได้หัวข้อมาว่าทำอะไรก็ได้ที่ทำขึ้นาเพื่อลดจากสิ่งที่เคยมีเคยทำเพื่อลดสภาวะของมันได้เพื่อไม่ให้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น
หัวข้อได้อันเนื่องมาจากการที่ได้ดูวิดิโอที่ลดพลังงานการใช้เพือ่ลดสภาวะของโลกใลยทำให้ต้องคิดโปรเจคงานขึ้นมา
ซึ่งปุ๊คิดเท่าไหร่ๆๆต่อเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกว่าจะทำไรดี
ซึ่งจะทำไรนั้นมันทำได้ทั้งหมดแต่อยูที่ว่าจะเอาอะไรมาทำดี....คิดได้แต่คิด
แต่ก็พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับโลกร้อนไปต่างๆนานาเพื่ออาจจะเกิดข้อมูลหรืออะไรที่น่าสนใจก็ได้


ปรากฏการณ์โลกร้อน (อังกฤษ: Global warming) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส [1] ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” [1] ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา[2][3] ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง [4] แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ [5][6]

แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) [1] ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก [1]

การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็ง การสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น



ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิด น้ำทะเลสูงขึ้นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งผลกระทบต่อมาน้ำแข็งบนภูเขาละลายทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่สูง และเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายก็เป็นต้นเหตุทำให้ประชากรสัตว์น้ำลดลง ทำลายระบบนิเวศ ต่อมาเกิดการแพร่ระบาดของโรคร้ายซึ่งมากับความร้อน น้ำท่วม ภัยแล้ง ฤดูกาลเปลี่ยนไป อย่างฤดูใบไม้ผลิจะมาเร็วซึ่งนั่นหมายถึงจำนวนวันที่ร้อนจะเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนวันที่หนาวจะสั้นลง น้อยลง เกิดการแปรปรวนของอากาศทำให้ร่างกายปรับไม่ทันเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย

นอกจากนี้ในภาวะอากาศที่แปรปรวนยังส่งผลกระทบให้เกิดการอพยพของสัตว์ป่า ปะการังเกิดการฟอกขาว ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ในทะเลเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังเกิดผลกระทบ ฝนตกหนักเฉพาะที่เกิดดินถล่มน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน

ผลกระทบประการสุดท้าย ได้แก่ ภัยแล้ง ไฟป่า ทำให้พืชพันธุ์ที่เคยสังเคราะห์แสงดูดซับคาร์บอนได้ตายลง ซึ่งผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วโลก เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งจะต่างไปในบางข้อที่ประเทศเรา ไม่มี อย่างเรื่องของการปกคลุมของภูเขาน้ำแข็ง

“ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างที่กล่าวมามีหลายเรื่องที่เห็นกันชัดเจนมีทั้งการกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่ ผลิตผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้พืชพันธุ์หลายชนิดได้รับผลกระทบ แต่สิ่ง ที่จะมีปัญหาซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือในเรื่องของคลื่นความร้อนซึ่ง จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งในต่างประเทศที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวแล้ว อีกทั้งมีการติด ตามสถานการณ์ เตรียมพร้อมในเรื่องนี้ด้วย”

การสะสมความร้อนมักเกิดในเขตเมืองอุตสาหกรรมทำให้อุณหภูมิ สูงขึ้นกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งประเทศไทยอย่างในกรุงเทพฯที่ผ่านมาก็แตะเข้าใกล้อุณหภูมิสูงเหล่านี้และ ปีนี้ให้เฝ้าระวัง อุณหภูมิสูงอาจจะเกิดขึ้นได้ในเดือนเมษายนหรือช่วงต่อพฤษภาคม

จากสถานการณ์โลกร้อนการจะช่วยกันแก้วิกฤติภาวะโลกร้อนคงจะต้องรู้ก่อนว่าสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกับเรื่องใดบ้าง อย่างเช่น แหล่งน้ำอย่า ให้มียุงมาวางไข่ ในเรื่องคลื่นความร้อน โรคหน้าร้อนก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ต้องระมัดระวัง การรับประทานอาหาร เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม ฯลฯ

ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนช่วยกันได้โดยพยายาม ลดการใช้พลังงานและใช้พลังงาน อย่างประหยัด ดังที่ผ่านมามีการ รณรงค์ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกินใกล้บ้าน ซื้อใกล้บ้านแทนการขับรถไปไกล ๆ ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคลด การซื้อการใช้จ่าย ลดการบริโภคที่ สิ้นเปลือง ซึ่งการช่วยกันคงจะต้อง ระมัดระวังในทุกกิจกรรม เช่น ในช่วงเวลานี้ที่มีการเดินทางใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการขับรถปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อมลดภาวะโลกร้อน ซึ่งควรขับรถด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ไม่ขับเร็วเกินไปและไม่ขนสัมภาระเยอะเกินความจำเป็น ฯลฯ เพียงเท่านี้นอกจากจะช่วยประหยัด ลดการใช้เชื้อเพลิงแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย

จากภาวะโลกร้อนที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ในการแก้ไขวิกฤติโลกร้อนคงไม่มีสิ่งใด ดีไปกว่าการที่ทุกคนร่วมมือร่วมใจ รักษาสิ่งแวดล้อม หยุดทำลายธรรมชาติเพื่อช่วยกันแก้วิกฤติ ลดปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน.



10 วิธีง่าย ๆ ช่วยหยุดภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน ที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรง คุณสามารถช่วยกันลด ภาวะโลกร้อน ได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้

1. เปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี

2. ขับรถให้น้อยลง
หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนต์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์

3. รีไซเคิลของใช้
ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี

4. เช็คลมยาง
การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติน้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์

5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง
ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์

6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ
เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี

7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก)
ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี

8. ปลูกต้นไม้
การ ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่
ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี

และอย่างสุดท้าย
10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้


นี่ก็คงเป็นแค่ที่มาของสภาวะโลกร้อนเป็นเพียงข้อมูลที่ปุ๊เอามาอ้างอิงเท่านั้นแต่งานที่ปุ๊จะทำนั้นก็ยังคงไม่ได้สรุปแต่อย่างน้อยเนื้อหาข้อมูลเหล่านี้อาจจะช่วยในการคิดได้บ้าง